ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยัง เครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์

 ซอฟต์แวร์ ระบบ จึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จัก กันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating System) เช่น DOS, Windows, Unix, Linux เป็นต้นรวมทั้งโปรแกรม    แปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C

ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-ระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS )
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
  1.ระบบปฏิบัติการ
                      ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายใน คอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสีย ก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่อง ขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
          หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ 
1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน

ประเภทของระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS )
  • ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS) ให้บริการสาหรับผู้ใช้คนเดียวใช้สาหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผล และทางานทั่วไป
  • ระบบ ปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) มุ่งเน้นและให้บริการผู้ใช้หลายคน (multi-user)ใช้สาหรับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ                  
  • ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น